
ในวงการการทำแผนที่ ก็หนีไม่พ้นวัฎจักรเหล่านั้น ก่อนอื่น ขอให้เรามาทำความเข้าใจว่า แผนที่คืออะไรเสียก่อน แผนที่คือ สิ่งที่แทนลักษณะของภูมิประเทศ บนพื้นผิวโลก ด้วย รูปร่าง สี สัญลักษณ์ ฉะนั้นแผนที่คือแหล่งข้อมูล หรือ ข่าวสารที่แสดงข้อมูลภูมิประเทศ ถ้าเราสามารถนำแผนที่มาออกแบบเป็นฐานข้อมูล(Database) เพื่อนำเข้าข้อมูลแผนที่ที่อยู่ในรูปกระดาษ ให้เป็นในลักษณะของตัวเลข เพื่อสามารถเรียกใช้ ในคอมพิวเตอร์ได้ ก็คือเราได้สามารถที่จะสร้าง แผนที่ตัวเลข หรือแผนที่เชิงเลขขึ้นมา หรือถ้าจะพูดเป็นภาษาทางการ แผนที่ตัวเลขก็คือ ข้อมูลแผนที่ที่ผ่านการออกแบบเป็นระบบ โดยจัดเก็บในลักษณะตัวเลขผ่านทางสื่อทางคอมพิวเตอร์เช่น CD-ROM เทป ฯลฯ เพื่อให้สามารถเรียกใช้ ให้ได้โดยผ่านทาง เครื่องคอมพิวเตอร์
โดยทั่วไปแล้วข้อมูลแผนที่ ที่จะจัดเก็บเป็นลักษณะตัวเลขประกอบด้วยข้อมูล สองลักษณะคือ
ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพหรือ Graphic
ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นคำอธิบาย หรือ Attribute
การจัดเก็บข้อมูลทั้งสองส่วนนี้ ต้องผ่านการออกแบบฐานข้อมูล ซึ่งจะกล่าวกันต่อไปในขั้น การจัดทำระบบแผนที่ตัวเลข แต่ในที่นี้ขอขยายความในส่วนของข้อมูลแผนที่ดังนี้
1. ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพหรือ Graphic
การจัดเก็บข้อมูลในส่วนนี้เราสามารถจัดเก็บได้ในสองลักษณะคือ
1.1 เก็บในลักษณะ RASTER หรือข้อมูลที่เป็นจุดภาพ
การจัดเก็บในลักษณะนี้คือการนำเอาข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพ มาจัดเก็บในลักษณะจุดภาพ เปรียบเทียบเหมือนกับการนำเอาตารางกริดมาครอบตัวภาพ ส่วนไหนที่เป็นข้อมูลที่ต้องการก็ใส่ข้อมูลไปให้รู้ในรูปของเลขระหัส ดังแสดงในรูป 1.1 ความสมจริงของข้อมูลขึ้นอยู่กับ จำนวนหรือ ขนาดของตารางกริด โดยอาจจะใช้คำว่า resolution แทน ขนาดของตารางกริด หรือ dot per inch แทนจำนวนของตารางกริด อุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล raster ที่เรารู้จักกันดี เช่น scanner
โดยทั่วไปแล้วข้อมูลแผนที่ ที่จะจัดเก็บเป็นลักษณะตัวเลขประกอบด้วยข้อมูล สองลักษณะคือ
ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพหรือ Graphic
ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นคำอธิบาย หรือ Attribute
การจัดเก็บข้อมูลทั้งสองส่วนนี้ ต้องผ่านการออกแบบฐานข้อมูล ซึ่งจะกล่าวกันต่อไปในขั้น การจัดทำระบบแผนที่ตัวเลข แต่ในที่นี้ขอขยายความในส่วนของข้อมูลแผนที่ดังนี้
1. ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพหรือ Graphic
การจัดเก็บข้อมูลในส่วนนี้เราสามารถจัดเก็บได้ในสองลักษณะคือ
1.1 เก็บในลักษณะ RASTER หรือข้อมูลที่เป็นจุดภาพ
การจัดเก็บในลักษณะนี้คือการนำเอาข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพ มาจัดเก็บในลักษณะจุดภาพ เปรียบเทียบเหมือนกับการนำเอาตารางกริดมาครอบตัวภาพ ส่วนไหนที่เป็นข้อมูลที่ต้องการก็ใส่ข้อมูลไปให้รู้ในรูปของเลขระหัส ดังแสดงในรูป 1.1 ความสมจริงของข้อมูลขึ้นอยู่กับ จำนวนหรือ ขนาดของตารางกริด โดยอาจจะใช้คำว่า resolution แทน ขนาดของตารางกริด หรือ dot per inch แทนจำนวนของตารางกริด อุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล raster ที่เรารู้จักกันดี เช่น scanner
การจัดเก็บข้อมูลแผนที่แบบ raster ข้อดี คือ จัดเก็บได้ง่าย โครงสร้างของข้อมูลไม่ซับซ้อน แต่ข้อเสียคือต้องใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บค่อนข้างมาก ยิ่งมี resolution ที่สูงก็จะใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น