วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความรู้เพิ่มเติม

ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS)

GPS ย่อมาจาก Global Positioning System ซึ่งถ้าแปลให้ตรงตัวแล้วคือ “ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก” ระบบนี้ได้พัฒนาขึ้นโดยกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งจัดทำโครงการ Global Positioning System มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยอาศัยดาวเทียมและระบวิทยุนำร่องเป็นพื้นฐานในการกำหนดตำแหน่งค่าพิกัดของเครื่องรับ (Receiver) ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นโครงการจะมีจำนวนดาวเทียมทั้งหมดถึง 24 ดวง พร้อมด้วยสถานี ควบคุมภาคพื้นดินเพื่อให้ระบบ GPS สามารถที่จะทำงานได้ทุกสภาวะและตลอด 24 ชั่วโมง ลักษณะการทำงานในการกำหนดค่าพิกัดของระบบ GPS ทำได้ด้วยการนำเครื่องรับไปยังตำแหน่งที่ต้องการจะทราบค่าพิทักจากนั้นเครื่องรับจะรอสัญญานจากดาวเทียม เมื่อเรื่องรับได้สัญญานจากจำนวนดาวเทียมที่เพียงพอก็จะประมวลสัญญานจากดาวเทียม เมื่อเครื่องรับได้สัญญานจากจำนวนดาวเทียมที่เพียงพอก็จะประมวลผลสัญญาณข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมและแสดงผลออกมาเป็นค่าพิกัดของตำแหน่งเครื่องรับ ซึ่งจะเสร็จสิ้นในระยะเวลาที่รวดเร็วมากเมื่อเทียบกับการรังวัดในแบบเดิม ความถูกต้องของค่าพิกัดที่ได้จากระบบ GPS จะขึ้นอยู่กับความสามารถของอุปกรณ์เครื่องรับซึ่งอาจจะมีความถูกต้องได้ตั้งแต่ 1 เซนติเมตรไปจนถึง 300 เมตรทีเดียว โดยที่กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกายังสามารถที่จะลดค่าความถูกต้องของเครื่องระบุได้อีกด้วยการส่งค่า Selective Availability (SA) ออกมาเพื่อทำให้การคำนวณค่าพิกัดคลาดเคลื่อน อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ด้วยการใช้วิธี Differential Correction ซึ่งทำให้ความถูกต้องของค่าพิกัดที่ได้อยู่ในช่วง 1-5 เมตรเท่านั้น เนื่องจากการที่ระบบ GPS สามารถท่จะในการจัดเก็บค่าพิกัดได้ด้วยความรวดเร็ว มีความถูกต้องสูง และทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงนี้เองจึงทำให้มีการนำระบบ GPS ไปใช้ในงานด้านต่างๆ อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับงานทางด้านแผนที่และงานทางด้านการสำรวจและทำให้ระบบ GPS มีความสำคัญมากขึ้น
ดาวเทียมที่ใช้ในการสำรวจด้วยระบบ GPS จะมีด้วยกันทั้งหมดในปัจจุบัน 24 ดวงครบตามที่กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกากำหนดไว้ในโครงการ GPS โดยที่ดาวเทียมทั้งหมดจะโคจรครอบคลุมทั่วทั้งโลก การที่เครื่องรับสัญญาณจะสามารถที่จะกำหนดค่าพิกัด (X,Y) ได้จะต้องรับสัญญานดาวเทียมได้อย่างน้อย 3 ดวงขึ้นไป แต่ถ้ารับได้ 4 ดวงก็จะสามารถกำหนดค่าพิกัด(X,Y) พร้อมทั้งค่าความสูง(Z) ของตำแหน่งนั้นได้ด้วย

http://www.arts.chula.ac.th/~geography/Geo_Know.htm#g6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น